วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Culture


Halloween

































--------------------------------------------------------------------------

Christmas 

















------------------------------------------------------





4 Skills

 Listening Skill


Reading Skill



Speaking Skill
Unit: Travel Topic: Transportation



Writing Skill

CLIL


What is CLIL?CLIL aims to introduce students to new ideas and concepts in traditional curriculum subjects (often the humanities), using the foreign language as the medium of communication - in other words, to enhance the pupils' learning experience by exploiting the synergies between the two subjects. This is often particularly rewarding where there is a direct overlap between the foreign language and the content subject — eg Vichy France, Nazi Germany, the Spanish Civil War.

How does the CLIL approach benefit pupils?
Although it may take a while for pupils to acclimatise to the challenges of CLIL, once they are familiar with the new way of working, demonstrably increased motivation and focus make it possible (and likely) that they will progress at faster-than-usual rates in the content subject, providing that the principles of CLIL teaching are borne in mind during planning and delivery. CLIL aims to improve performance in both the content subject and the foreign language. Research indicates there should be no detrimental effects for the CLIL pupils (and often progress is demonstrably better).

Other advantages include:

  • stronger links with the citizenship curriculum (particularly through the use of authentic materials, which offer an alternative perspective on a variety of issues)
  • increased student awareness of the value of transferable skills and
    knowledge
  • greater pupil confidence.
What are the practical implications of introducing CLIL into the school curriculum?
The content subject should always be the primary focus of any materials used in the CLIL classroom. CLIL should not be used as an opportunity to use texts as glorified vocabulary lists, or to revise concepts already studied in the mother tongue. However, it is impossible to transfer existing content subject lesson plans across without modifying these to take into account pupils' ability in the target language, and therefore the planning process is vital. It is likely that, especially to begin with, lessons will need to be challenging cognitively, with comparatively light linguistic demands. Schools need to design materials to suit the needs of their learners, and to enable them to develop until they are working at high levels of cognitive and linguistic challenge.

What is the best approach to CLIL teaching?
The diversity of CLIL activity in UK schools is striking. It is not possible to generalise to any extent about the subjects chosen, the type of school pioneering such approaches, nor the ability of the learners chosen to participate. The predominant language of the projects is French, although a number of projects are operating in German or Spanish. It appears, then, that no approach to CLIL can be set in stone. One of the purposes of the Content and Language Integration Project is to compare the outcomes of different approaches in a variety of different schools.



ตัวอย่างแผน CLIL
Color Changing Milk


ตัวอย่าง VDO CLIL

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Social Service

Social service @ Donnard Temple











------------------------------------------------------------------------------------------

Social service @ Somhong



วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอนแบบตรง

การสอนแบบตรง (direct method)
         การ สอนแบบตรงเป็นวิธีแรกหลังจากเกิดการปฏิรูปทางด้านการสอนภาษาต่างประเทศ เนื่องจาก นักภาษาศาสตร์เห็นว่าวิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปลมิได้ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาการ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารดังนั้นจุดมุ่งหมายของการสอนแบบตรงคือมุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสารบทเรียนส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เป็นบทสนทนาเพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้ใช้ภาษาต่างประเทศที่กำลังเรียนอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีการใช้ภาษาของผู้เรียนเลยเวลาสอนผู้สอนจะพยายามสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เหมือนสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศผู้สอนจะใช้ภาษาต่างประเทศ ตลอดเวลาไม่มีการเน้นสอนไวยากรณ์จะไม่มีการบอกกฎไวยากรณ์อย่างชัดเจน แต่การเรียนรู้ไวยากรณ์จะเรียนรู้อยากตัวอย่างและการใช้ภาษา แล้วสรุปกฎเกณฑ์ ถึงแม้จะมีการฝึกทักษะทั้ง 4 คือ ฟัง-พูด อ่าน เขียน แต่การฝึกทักษะพูดเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดทักษะอ่าน และเขียนจะมีพื้นฐานมาจากการพูดก่อน วิธีสอนแบบนี้เน้นการรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้พูดภาษานั้น ๆ ด้วย            
 วิธีสอนแบบตรงบางครั้งเรียกว่าวิธีสอนตามธรรมชาติ (natural method) ในศตวรรษที่ 19 เริ่มมีการปฏิรูปทฤษฎีการเรียนรู้ทางภาษาโดยให้ความสนใจกับการเรียนรู้ภาษา ตามแนวธรรมชาติคือ มีความคิดที่จะพยายามสอนภาษาที่สองเหมือนกับการสอนภาษาที่หนึ่ง นักภาษาศาสตร์หลาย ๆ คนเชื่อว่าการสอนภาษาต่างประเทศไม่มีความจำเป็นต้องแปลเป็นภาษา ที่หนึ่งถ้าผู้สอนรู้จักที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจโดยการสาธิตและแสดงท่าทาง จากเหตุผลที่ไม่ใช้ภาษาที่หนึ่ง ในชั้นเรียนจึงทำให้วิธีสอนแบบตรงมีปัญหาเรื่องครูสอน เพราะครูผู้สอนวิธีนี้จะเป็นครูที่เป็นเจ้าของภาษา เนื่องจากครูที่ไม่ใช้เจ้าของภาษามีข้อจำกัดในการใช้ภาษาเป้าหมายตลอดเวลา จึงหาครูที่มีความสามารถเช่นนี้ ไม่ค่อยง่ายนัก และการหลีกเลี่ยงไม่ใช้ภาษาที่หนึ่งเลยบางทีก็เกิดผลเสียบางครั้งการใช้ภาษา ที่หนึ่ง อธิบายเพียงสั้น ๆ อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความกระจ่างและช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาได้เร็ว กว่าใช้ภาษาที่สอง นอกจากนั้นการที่ผู้สอนใช้ภาษาเป้าหมายตลอดเวลาในชั้นเรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความคับข้องใจ (frustration) ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้นักภาษาศาสตร์พัฒนาวิธีสอนใหม่ขึ้นมาคือ วิธีสอนแบบฟัง-พูด (audio-lingual method)

สรุปลักษณะสำคัญของการสอนแบบตรงดังนี้          
- ใช้ภาษาเป้าหมายเท่านั้น          
- ผู้เรียนจะถูกฝึกให้ใช้ภาษาเป้าหมายที่เป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน          
 - ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้คิดเป็นภาษาเป้าหมาย          
- ทักษะแรกที่เน้นคือทักษะพูดแล้วจึงพัฒนาทักษะอ่าน

NA

การสอนตามแนวธรรมชาติ
(Natural Approach- NA) 

            NA เป็น แนวการสอนที่พยายามเลียนแบบการรับรู้(acquire) ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็กๆซึ่งเป็นการรับรู้ภาษาที่เกิดตามธรรมชาติโดยที่ไม่มีใครสอน คำว่า natural approach และ natural method (direct method) และต่างกันตรงที่ direct method เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางน้อยกว่า (Baker & Jones, 1998) Direct Method เน้นการพูดของครู (teacher talk time-TTT) มากกว่า ที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนพูด (student talk time- STTT) และเน้นการแก้ข้อผิดพลาดของผู้เรียน นอกจากนั้นแนวการสอนตามธรรมชาติยังต่างจากวิธีสอนแบบ grammar translation และวิธีสอนแบบ audio-lingual method ตรงที่การสอนตามแนวธรรมชาติเน้นการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย (meaning) และเน้นหน้าที่ (function) ของภาษา ซึ่งเป็นการการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเหมือนกับวิธีสอนแบบสื่อสาร 
( communicative language teaching- CLT) การ เลือกเนื้อหาและเรื่องที่สอนต้องสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน ทักษะฟังควรฝึกก่อนทักษะพูด ก่อนที่ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเขียนต้องคำนึงความ พร้อมของผู้เรียนเพราะทักษะนี้ต้องใช้เวลานานในการสร้างความพร้อม ผู้สอนไม่ควรเร่งเพราะจะทำให้ผู้เรียนวิตกกังวลซึ่งมีผลต่อทัศนคติและแรงจูง ใจ การช่วยลดความวิตกกังวล (low anxiety) เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนภาษาที่สอง            
การ สอนตามแนวธรรมชาตินี้ผู้สอนต้องใช้ภาษาของเจ้าของภาษาตลอดเวลา ซึ่งเป็นปัญหากับผู้สอนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ในการแก้ปัญหาดังกล่าวผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจ ตัวป้อน (input)เช่นการเทคนิคใบ้คำ ( mime) การใช้ภาษาท่าทาง (body language) เป็นต้น หรือผู้สอนอาจใช้เทป หรือ วิดีโอช่วยก็ได้             
     Krashen และ Terrell (1983) เป็นผู้คิดค้นวิธีสอนแบบนี้ขึ้นมา Stephen Krashen เป็นนักภาษาศาสตร์ประยุคแห่งมหาวิทยาลัย Southern California งานที่สำคัญที่เป็นที่แพร่หลายคือทฤษฎีการรับรู้และการพัฒนาการการเรียนภาษาที่สอง (theory of second language acquisition) ทฤษฏีนี้มีอิทธิพลต่องานวิจัยและการเรียนภาษาที่สองอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา นอกจากนั้นKrashen ยังได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ไม่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง และผู้เรียนที่ใช้สองภาษา ( bilingual) ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หนังสือของเขาได้รับการตีพิมพ์มากกว่า ๆ 100 เล่มและบทความมากกว่า 300 บทความที่ได้รับการยอมรับทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา             
Krashen เชื่อว่าจุดมุ่งหมายของการสอนภาษาที่สองต้องจัดกระบวนการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตัวป้อน (input)ได้ง่ายและเร็วขึ้นครูที่ดีต้องเข้าใจกระบวนการรับรู้ (acquire) ภาษา ที่หนึ่งของเด็กเล็กๆเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจการเรียนรู้ภาษาที่ สองของผู้เรียน ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใกล้เคียงกับการเรียนภาษาที่หนึ่งมาก ที่สุด ซึ่งสามารถทำได้โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์จริงนอกเหนือจาก การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ตามสมมุติฐานAffective Filter Hypothesis ของ Krashen ถือว่า ความวิตกกังวล (anxiety) เป็น ตัวแปรที่มีผลต่อความสำเร็จในการเรียนภาษาที่สอง ถ้าผู้เรียนเกิดแรงจูงใจสูงมีแนวโน้มที่จะแสวงหาโอกาสในการปฎิสัมพันธ์ กับเจ้าของภาษาผู้เรียนที่มีทัศนคติด้านบวกต่อการเรียนภาษาเป้าหมายจะเรียน ได้ดีกว่าผู้เรียนที่มีทัศนคติด้านลบ ดังนั้นในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนครูต้องจัดบรรยากาศที่เป็นมิตรเพื่อเสริม ให้ผู้เรียนมีทํศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นในตนเอง Krashen ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนภาษาที่สอง ถ้าผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นในตัวเองจะทำให้เกิดความกล้า(risk taking) ที่จะสนทนากับเจ้าของภาษาทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการสนทนา (conversational competence) และยังรวมไปถึงความสามารถในการใช้เทคนิค (strategy) ที่ หลากหลายเพื่อช่วยให้สื่อความหมายได้ดีขึ้นทำให้การสนทนาไม่หยุดลงกลางคัน เช่นการใช้ท่าทาง การถามย้อนกลับเพื่อให้เจ้าของภาษาช่วยตรวจสอบเป็นต้น            
ส่วน Terrell เป็นครูสอนภาษาสเปนในแคลิฟอเนียร์ มีประสบการณ์ด้านการสอนแบบธรรมชาติ Terrell ได้ร่วมมือกับ Krahenคิดวิธีการสอนขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า " The Natural Approach-NA" และได้รับการตีพิมพ์ ในปี1983 เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ Krashen และ Terrell ได้ อธิบายวิธีการที่จะช่วยให้ ผู้เรียนภาษาที่สองมีความสามารถในการใช้ภาษาได้โดยตรงโดยไม่ผ่านกระบวนการส อน กล่าวคือผู้เรียนภาษาที่สองไม่จำเป็นต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ภาษาโดยตรงเหมือน วิธีสอนแบบ grammar translation

CLT

แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 
(Communicative Language Teaching)


1. ความหมาย การสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของตัวผู้เรียนจัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การพูด การอ่าน การจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ จดจำแล้วนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้
 
2. ความสำคัญ กลุ่มนักจิตวิทยาการเรียนรู้เชื่อว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดในการเรียน ผู้เรียนจะสามารถเรียนได้มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเข้าใจเป็นสำคัญ เขาจะเรียนได้ดีถ้าเข้าใจจุดประสงค์ของการเรียน เห็นประโยชน์ในการนำสิ่งที่เรียนไปใช้ โดยสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนไปแล้วให้เข้ากับสิ่งที่กำลังเรียนอยู่ และสิ่งที่จะช่วยให้เรียนภาษาต่างประเทศได้ดี นอกเหนือจากสองเรื่องที่กล่าวมาแล้วก็คือต้องเข้าใจหลักภาษาที่ใช้ในการวางรูปแบบประโยคด้วย
   การสอนภาษาต่างประเทศในปัจจุบัน ได้หันมายึดแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมที่เนน้ ผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผูเ้ รียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ได้ฝึกใช้ภาษาในสถานการณ์ที่มีโอกาสพบได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยยังคงให้ความสำคัญกับโครงสร้างไวยากรณ์ ตามที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาที่ใช้สื่อความหมาย ดังที่  ลิตเติลวูด (Littlewood, 1983) กล่าวไว้ว่า แนวการสอนภาษาเพื่อ
การสื่อสารเป็นแนวการสอนที่ไม่จำกัดความสามารถของผู้เรียนไว้เพียงแค่ความรู้ด้านโครงสร้างไวยากรณ์เท่านั้น แต่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาทุกทักษะ โดยสัมพันธ์ความสามารถทางไวยากรณ์เข้ากับยุทธศาสตร์การสื่อสารด้วย
วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ ในชีวิตจริงผู้เรียนต้องสัมผัสกับการสื่อสารซึ่งเป็นการใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆมากมาย ดังนั้นการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ควรสอนให้ผู้เรียนคุ้นกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน และนำภาษาที่คุ้นเคยนั้นไปใช้ได้
คำกล่าวนี้สอดคล้องกับความเห็นของ วิดโดสัน (Widdowson, 1979) ที่ว่าความสามารถในการเรียบเรียงประโยคมิใช่เป็นความสามารถในการสื่อสาร การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถใช้ประโยคได้หลายชนิดในโอกาสต่างๆกันเช่น การอธิบาย การแนะนำ การถาม-ตอบ การขอร้อง การออกคำสั่ง เป็นต้น ความรู้ในการแต่งประโยคเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า ความรู้ความเข้าใจภาษา เท่านั้น ซึ่ง
อาจจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง แต่ถ้าจะให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ก็ต้องสามารถนำความรู้ในการใช้ประโยคไปใช้ให้เป็นปกติวิสัยได้ตามโอกาสต่างๆของการสื่อสาร

3. แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ตามคำจำกัดความที่ ดักกลาสบราวน์ (H.Douglas Brown,1993) เสนอไว้ มีลักษณะ 4 ประการ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันดังนี้
3.1 เป้าหมายของการสอนเน้นไปที่องค์ประกอบทั้งหมดของทักษะการสื่อสาร และไม่จำกัดอยู่ภายในกรอบของเนื้อหาภาษาหรือไวยากรณ์
3.2 เทคนิคทางภาษาได้รับการออกแบบมา เพื่อนำผู้เรียนไปสู่การใช้
ภาษาอย่างแท้จริงตามหน้าที่ภาษา และปฏิบัติจริงโดยมีจุดมุ่งหมายในการพูดรูปแบบโครงสร้างภาษามิใช่เป้าหมายหลัก แต่ตัวรูปแบบเฉพาะของภาษาต่างหากที่ทำให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารจนสำเร็จตามเป้าหมาย
3.3 ความคล่องแคล่วและความถูกต้อง เป็นหลักการเสริมที่อยู่ภายใต้
เทคนิคการสื่อสาร มีหลายครั้งที่ความคล่องแคล่วอาจจะมีความสำคัญมากกว่าความถูกต้อง เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนนำภาษาไปใช้ได้อย่างมีความหมาย
3.4 ในการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
ในตอนท้ายสุด ผู้เรียนต้องใช้ภาษาอย่างเข้าใจและสร้างสรรค์ ภายในบริบทที่ไม่เคยฝึกมาก่อนจากแนวการสอนต่างๆดังได้กล่าวมาแล้ว ทำให้เกิดแนวคิดในการสอนภาษาว่าควรนำเสนอภาษาใหม่ในรูปแบบภาษาที่พบในสถานการณ์จริง เพื่อนำไปสู่การสอนคำศัพท์ โครงสร้าง การออกเสียง มีการฝึกฝนจนเกิดความเข้าใจในเนื้อหา โครงสร้างสามารถใช้ได้ถูกต้อง แล้วจึงนำความรู้ที่ได้ไปฝึกในสถานการณ์จริง แนวคิดนี้จึงกลายเป็นขั้นตอนของการสอนของแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 

4. ขั้นตอนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร จากแนวคิดในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบนี้เอง จึงทำให้เกิดขั้นตอนการสอนต่างๆ 3 ขั้นตอน ที่ใช้จัดการสอนกันทั่วไปในขณะนี้ขึ้น และขั้นตอนการสอนนี้ มีผลเชื่อมโยงต่อไปถึงสถานการณ์การสอน เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ และหน่วยการสอนด้วย ครูผู้สอนจึงควรทำความเข้าใจให้ชัดเจน เพื่อจะได้จัดการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการสอนทั้ง 3 ขั้นนี้ จะพบว่า มีปรากฏอยู่ในวิธีการนำเสนอเนื้อหาในแบบเรียนต่างๆ ที่ผู้เขียนแบบเรียนมีความรู้ด้านภาษาศาสตร์และแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นอย่างดี และปรากฏอยู่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างชัดเจนทั้ง 3 ขั้นตอน วิธีการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน
มีดังต่อไปนี้
4.1 ขั้นการนำเสนอเนื้อหา (Presentation) ในการเรียนการสอน
ภาษาต่างประเทศ การนำเสนอเนื้อหาใหม่ จัดเป็นขั้นการสอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง ในขั้นนี้ครูจะให้ข้อมูลทางภาษาแก่ผู้เรียน ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ มีการนำเสนอเนื้อหาใหม่ โดยจะมุ่งเน้นการให้ผู้เรียนได้รับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและรูปแบบภาษาที่ใช้กันจริงโดยทั่วไป รวมทั้งวิธีการใช้ภาษา ไม่ว่าเป็นด้านการออกเสียง ความหมาย คำศัพท์ และโครงสร้างไวยากรณ์ที่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ต่างๆ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้กฎเกณฑ์
4.2 ขั้นการฝึกปฏิบัติ (Practice) เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษาที่เพิ่งจะเรียนรู้ใหม่จากขั้นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของการฝึกแบบควบคุมหรือชี้นำ (Controlled Practice/Directed Activities) โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้นำในการฝึกไปสู่การฝึกแบบค่อยๆปล่อยให้ทำเองมากขึ้น เป็นแบบกึ่งควบคุม (Semi-Controlled)การฝึกในขั้นนี้มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนจดจำรูปแบบของภาษาได้ จึงเน้นที่ความถูกต้องของภาษาเป็นหลัก แต่ก็มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและวิธีการใช้รูปแบบภาษานั้นๆด้วยเช่นกัน ในการฝึกนั้น ครูผู้สอนจะเริ่มจากการฝึกปากเปล่า (Oral) ซึ่งเป็นการพูดตามแบบง่ายๆก่อน จนได้รูปแบบภาษา แล้วค่อยเปลี่ยนสถานการณ์ไป สถานการณ์เหล่านี้จะเป็นสถานการณ์ที่สร้างขึ้นภายในห้องเรียน เพื่อฝึกการใช้โครงสร้างประโยคตามบทเรียน ทั้งนี้ครูผู้สอนต้องให้ข้อมูลป้อนกลับด้วย เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่า ตนใช้ภาษาได้ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้อาจตรวจสอบความเข้าใจด้านความหมายได้ (ไม่ควรใช้เวลามากนัก) ต่อจากนั้นจึงให้ฝึกด้วยการเขียน (Written) เพื่อเป็นการผนึกความแม่นยำในการใช้
4.3 ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production) ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร นับเป็นขั้นที่สุดขั้นหนึ่ง เพราะการฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเปรียบเสมือนการถ่ายโอนการเรียนรู้ภาษาจากสถานการณ์ในชั้นเรียนไปสู่การนำภาษาไปใช้จริงนอกชั้นเรียน การฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารโดยทั่วไป มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้ลองใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ ที่จำลองจากสถานการณ์จริง หรือที่เป็นสถานการณ์จริง        ด้วยตนเอง โดยครูผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะแนวทางเท่านั้น การฝึกใช้ภาษาในลักษณะนี้มีประโยชน์ในแง่ที่ช่วยให้ทั้งครูผู้สอนและผู้เรียนได้รู้ว่า ผู้เรียนเข้าใจและเรียนรู้ภาษาไปแล้วมากน้อยเพียงใด สามารถนำไปปรับใช้ตามความต้องการของตนเองแค่ไหน ซึ่งการที่จะถือว่า   ผู้เ้รียนได้เรียนรู้แล้วอย่างแท้จริงคือ การที่ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เองอย่างอิสระ ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ที่จะพบในชีวิตจริงนอกจากนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสนำความรู้ทางภาษาที่เคยเรียนมาแล้วมาใช้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ในการฝึกในขั้นตอนนี้อีกด้วย เพราะผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาตามรูปแบบที่กำหนดมาให้เหมือนดังกรฝึกในขั้นการฝึก และการได้เลือกใช้ภาษาเองนี้ช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี วิธีการฝึกมัก
ฝึกในรูปของการทำกิจกรรมแบบต่างๆ โดยครูผู้สอนเป็นเพียง            ผู้กำหนดภาระงาน หรือสถานการณ์ต่างๆให้

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

CALL

คอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา
                                                                                                                                                                      การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนเป็นวิธีจัดการเรียนการสอนวิธีหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวถ่ายทอดเนื้อหาหรือบทเรียนไปสู่ผู้เรียน  มีบทบาทในการช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มากขึ้น และสามารถตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้จึงทำให้ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวาง  คำที่นิยมใช้เรียกคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมี 2 คำ  คือ  CAI : Computer-Assisted  Instruction  กับ  CAL : Computer-Assisted  Learning  โดยคำว่า CAI  นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา  และ  CAL  นิยมใช้ในยุโรป   แต่มีความหมายอย่างเดียวกัน (วสันต์  จันทโรภพ  2536 : 12-13)  และต่อมาได้มีการพัฒนานำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  มีชื่อเรียกว่า  CALL :  Computer-Assisted  Language  Learning (ผ่าน  บาลโพธิ์  2534)  มีผู้กำหนดความหมายของ CALL  ไว้หลายอย่าง  สามารถสรุปได้ว่า  หมายถึงเทคโนโลยีสื่อการสอนที่ทันสมัยซึ่งอยู่ในรูปของซอฟแวร์คอมพิวเตอร์  ที่ครูใช้เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน  โดยใช้เพียงสื่อการสอนชนิดหนึ่งในชั้นเรียนเท่านั้นไม่สามารถใช้สอนแทนครูทั้งหมดได้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษามีการพัฒนาควบคู่กับทฤษฎีทางการเรียนรู้และวิธีการสอนภาษาอังกฤษ  ซึ่งวอร์ชาเออร์ (Warchauer  อ้างอิงใน  Torut 1999)  ได้แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้
 
                        1.  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในยุคพฤติกรรมนิยม (Behavioristic CALL)  ยึดถือทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม  ให้ความสำคัญกับการฝึกฝนซ้ำ ๆ  ซอร์ฟแวร์ส่วนใหญ่เป็นแบบฝึกหัดเพื่อปฏิบัติและฝึกฝน  คอมพิวเตอร์เป็นเหมือนผู้ช่วยสอน (Tutor)  กิจกรรมในการเรียนรู้ส่งเสริมความถูกต้องของภาษามากกว่าความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา  มีจุดอ่อนที่ยังไม่ได้รับการยอมรับในเชิงเหตุผลและการสอนจากทั้งนักทฤษฎีและนักปฏิบัติ
 
                        2.  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในยุคภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative CALL)  ให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่แท้จริงมากกว่าการฝึกฝนและการทำแบบฝึกหัด  นำเสนอกิจกรรมทุกอย่างบนคอมพิวเตอร์  ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ  ไม่มีรูปแบบของการฝึกฝนภาษาซ้ำ ๆ  ใช้วิธีการสร้างข้อความใหม่ ๆ ในการอ่านเพื่อชี้นำ  ให้แบบฝึกหัดเติมคำในช่องว่าง  มีจุดอ่อนที่คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้บูรณาการเข้ากับหลักสูตรอย่างเต็มที่  การนำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นการทดลอง  ยังไม่ได้ใช้เป็นพื้นฐานของการศึกษาโดยรวม
 
                        3.  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในยุคบูรณาการแบบสื่อหลากหลาย (Integrative  CALL Multimedia  CD-ROM)  ซอฟแวร์ประกอบด้วยสื่อหลายประเภท  เช่น  ข้อความ  ภาพ  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว  และเทปโทรทัศน์  มีการพัฒนาซอฟแวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม  เช่น  Toolbook,  Authoware  และ  Director  ให้ใช้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  สร้างจากแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจจากภายในของนักเรียน  กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน  และผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์  มีการรวบรวมสื่อหลายหลายไว้ด้วยกัน  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และประเมินความก้าวหน้าได้ด้วยตนเอง  สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ภาษาอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงมากขึ้น  ผู้เรียนได้ใช้ทักษะทั้งสี่ด้านของภาษา  คือ  ฟัง  พูด  อ่าน  และเขียน  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนต่าง ๆ เช่น  คำอธิบายไวยากรณ์  อภิธานศัพท์  การออกเสียง  และแบบฝึกหัด  เป็นต้น
 
                        4.  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในยุคบูรณาการอินเตอร์เนต (Integrative  CALL-Internet)  มีลักษณะเป็นที่รวบรวมสื่อหลากหลายประเภทจากอินเตอร์เนต  เช่น  ข้อความ  รูปภาพ  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว  และวีดีทัศน์  มีการเชื่อมแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทางอินเตอร์เนตเข้าด้วยกันด้วยความเร็วสูง  ยึดตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารสร้างแรงจูงใจจากภายในของนักเรียนเพื่อการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติ กระตุ้นให้มีกิจกรรมระหว่างผู้เรียนและผู้ใช้อินเตอร์เนตทั่วโลก  สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ภาษาอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงมากขึ้น  ผู้เรียนได้ใช้ทักษะทั้งสี่ด้านของภาษา  ให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่หลากหลายและวัฒนธรรมที่ต่างกัน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถแบ่งเป็น  7  ประเภท  ดังนี้  คือ 
                        1.  แบบฝึกหัดหรือปฏิบัติ (Drill  and  Practice)
                        2.  แบบสอนเนื้อหา (Tutorial)
                        3.  แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
                        4.  แบบสาธิต (Demonstration)
                        5.  แบบเกมการสอน (Instructional  Games)
                        6.  แบบทดสอบ (Test) 
                        7.  แบบแก้ปัญหา  (Problem  Solving) 
                        คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประโยชน์มากมายทั้งต่อผู้สอน  ผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งกล่าวโดยสรุปคือ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาอังกฤษคือสื่อการสอนที่เป็นผู้ช่วยครูในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ทางภาษา  และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน  นักเรียนสามารถเลือกบทเรียนที่เหมาะสมกับตัวเองได้  และมีการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามโปรแกรม  





ตัวอย่าง CALL 
Unit: Science and technology Topic: Solar System




Writing Skill

เทคนิคการสอนทักษะเขียนภาษาอังกฤษ (Writing Skill)


      การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือ ผู้อ่าน กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการ เขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด



การฝึก ทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary) กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้ ซึ่งการสอนทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การสอนเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับ สูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการ เขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
1. เทคนิควิธีปฎิบัติ
การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ 
1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือ การป้องกันมิให้ผู้เรียนเขียนผิดตั้งแต่เริ่มต้น กิจกรรมที่นำมาใช้ในการฝึกเขียน เช่น
Copying , เป็นการฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยค หรือ ข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยค และอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อมกัน
Gap Filing เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ มาเขียนเติมลงในช่องว่างของประโยค ผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้คำชนิดต่างๆ (Part of Speech) ทั้งด้านความหมาย และด้านไวยากรณ์
Re-ordering Words, เป็นการฝึกเขียนโดยเรียบเรียงคำที่กำหนดให้ เป็นประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำในประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเรียนรู้ความหมายของประโยคไปพร้อมกัน
Changing forms of Certain words เป็นการฝึกเขียนโดยเปลี่ยนแปลงคำที่กำหนดให้ในประโยค ให้เป็นรูปพจน์ หรือรูปกาล ต่างๆ หรือ รูปประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ฯลฯ ผู้เรียนได้ฝึกการเปลี่ยนรูปแบบของคำได้อย่างสอดคล้องกับชนิดและหน้าที่ของ คำในประโยค
Substitution Tables เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ในตาราง มาเขียนเป็นประโยคตามโครงสร้างที่กำหนด ผู้เรียนได้ฝึกการเลือกใช้คำที่หลากหลายในโครงสร้างประโยคเดียวกัน และได้ฝึกทำความเข้าใจในความหมายของคำ หรือประโยคด้วย

1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมฝึกการเขียนแบบกึ่งอิสระ เช่น
Sentence Combining เป็นการฝึกเขียนโดยเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำขยาย หรือ คำเชื่อมประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรียบเรียงประโยคโดยใช้คำขยาย หรือคำเชื่อมประโยค ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

Describing People เป็นการฝึกการเขียนบรรยาย คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยใช้คำคุณศัพท์แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนามได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น
Questions and Answers Composition เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราว ภายหลังจากการฝึกถามตอบปากเปล่าแล้ว โดยอาจให้จับคู่แล้วสลับกันถามตอบปากเปล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้ แต่ละคนจดบันทึกคำตอบของตนเองไว้ หลังจากนั้น จึงให้เขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราว 1 ย่อหน้า ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยมีคำถามเป็นสื่อนำความคิด หรือเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะได้มีข้อมูลเป็นรายข้อที่สามารถนำมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันไปได้ อย่างน้อย 1 เรื่อง
Parallel Writing เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราวเทียบเคียงกับเรื่องที่อ่าน โดยเขียนจากข้อมูล หรือ ประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงกับความหมายและโครงสร้างประโยค ของเรื่องที่อ่าน เมื่อผู้เรียนได้อ่านเรื่องและศึกษารูปแบบการเขียนเรียบเรียงเรื่องนั้นแล้ว ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลหรือประเด็นที่กำหนดให้มาเขียนเลียนแบบ หรือ เทียบเคียงกับเรื่องที่อ่านได้
Dictation เป็นการฝึกเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน เช่น การสะกดคำ ความเข้าใจด้านโครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ รวมถึงความหมายของคำ ประโยค หรือ ข้อความที่เขียน

1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวนไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 

Presentation




While writing


ตัวอย่างแผน Writing
Unit: Myself  Topic: Daily ruotine


ตัวอย่าง VDO Writing


วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

Listening Skill

เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
Listening Skill

 " ทำอย่างไรให้ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและพูดภาษาอังกฤษเก่ง”  หรือ "ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง” หรือ “ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง”
 เป็นคำพูดที่มักจะเจอบ่อยๆสำหรับคนที่อยากจะ พูดภาษาอังกฤษได้ดี ทั้งๆที่เรียนภาษาอังกฤษกันมาแล้วมากมาย บางคนเรียนมาแล้วมากกว่า 10 ปี บางคนเรียนภาษาอังกฤษมากับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ หลายสถาบัน แต่ก็ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ซักที บางคนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดี และเข้าใจได้ดี หรือบางคนทำคะแนนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ดี แต่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เพราะอะไร
     สาเหตุที่สำคัญคือ ทักษะการฟังภาษาอังกฤษกล่าวคือเราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อน และต้องฟังประโยคซ้ำๆ หลายๆรอบจนขึ้นใจแล้วพูดตาม ออกเสียงตามให้เหมือนที่สุด อาจไม่เข้าใจความหมายหรือคำแปลไม่เป็นไร
     การฟังภาษาอังกฤษ ถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด และพัฒนายากที่สุด  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของคนไทยส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมดของการ เรียนภาษาอังกฤษของคนไทย หากเราลองนึกดูว่า แล้วภาษาไทยที่เราพูด, อ่าน และเขียนได้ในปัจจุบัน นั้น  มีพื้นฐานมาจากอะไร หากไม่ใช่มาจากการฟัง ฟังจนเข้าใจในสิ่งที่เราได้รับฟังมา  แล้วเลียนเสียงนั้น(คือการพูดตาม) จนพูดได้  หลังจากนั้น จึงเริ่มเรียนการเขียน   แล้วจึงตามมาด้วยการอ่าน เช่นเดียวกัน  หากเราได้ ฟังภาษาอังกฤษ หลายๆรอบ บ่อยๆ ซ้ำๆจนจำขึ้นใจแล้ว เราจะพบว่าเราสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและเข้าใจโดยอัตโนมัติ  นอกจากนั้นยังสามารถ พูดภาษาอังกฤษได้อีกด้วย
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill) 
 การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา 







      ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
 
1.เทคนิควิธีปฎิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผุ้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2 ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฯลฯ
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้

1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง 
( Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้าง ความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น
การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถาม เกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ
การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฎอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
 
2) กิจกรรมระหว่างการฟัง  
หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
-ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
-ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
-ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
-ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
-ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
-ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
-ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
 
3) กิจกรรมหลังการฟัง  
(Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติ กิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น

การสอนทักษะการฟังโดยใช้สถานการณ์และกิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการฟังของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการฟังที่ดี จะนำไปสู่ทักษะการพูดที่ดีได้เช่นเดียวกัน 

Presentation 



While listening

Post listening





ตัวอย่างแผน Listening
Unit: Family  Topic: Pets 


ตัวอย่าง VDO Listening



วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

Speaking Skill

เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ

( Speaking Skill) 

การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ จุดมุ่งหมายของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอด คล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน

เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ( Speaking Skill)
การ สอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) ในเรื่องของเสียง คำศัพท์ ( Vocabulary) ไวยากรณ์ ( Grammar) กระสวนประโยค (Patterns) ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และจะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอด คล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน




1. เทคนิควิธีปฎิบัติ
กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี 3 รูปแบบ คือ

1.1 การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ เช่น
พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill)
พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation Drill)
พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No Question-Answer Drill)
พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้ (Sentence Building)
พูดคำศัพท์ สำนวนในประโยคที่ถูกลบไปทีละส่วน (Rub out and Remember)
พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering dialogues)
พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting dialogue)
พูดต่อเติมส่วนที่หายไปจากประโยค ( Completing Sentences )
พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก (Split Dictation)
ฯลฯ

1.2 การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ เช่น
............ พูดสร้างประโยคเปรียบเทียบโดยใช้รูปภาพ
............ พูดสร้างประโยคจากภาพที่กำหนดให้
............ พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน
............ ฯลฯ

1.3 การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร (Communicative Drills) เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ เช่น
พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ( Situation)
พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ( Imaginary Situation)
พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด ( Describe and Draw)
ฯลฯ



Presentation



While-Speaking


Post-Speaking



ตัวอย่างแผน Speaking



ตัวอย่าง VDO Speaking